หลังจากเริ่มเข้าสู่วัยที่มีเงินเดือน หลายๆ คนจะเริ่มสนใจเรื่องของการลงทุนเพื่อให้เงินของเรานั้นงอกเงยยิ่งขึ้น แต่หากใครที่ไม่ได้เป็นสายลงทุนจ๋าๆ หรือเพิ่งเริ่มลงทุนอาจจะลองเปลี่ยนมาออมเงินผ่านกองทุนรวม วิธีการนี้จะช่วยให้คุณขยับเข้าใกล้เป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น ถ้าคุณไม่รู้ว่า กองทุนรวมคืออะไร และควรเลือกกองทุนแบบไหนดี ลองอ่านบทความนี้ให้จบ แล้วทุกคำถามที่คุณสงสัยจะพบคำตอบได้ในบทความนี้
ทำความรู้จักกองทุนรวมก่อนการลงทุน
กองทุนรวม กรุงไทย คือ การระดมเงินลงทุนจากเหล่านักลงทุนรายย่อยนำมารวมกันเป็นก้อนใหญ่เพื่อนำเงินไปลงทุนตามนโยบายที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ บลจ. เป็นผู้ดูแล ผู้ลงทุนจะได้รับการจัดสรรเป็นหน่วยลงทุนจากเงินที่ลงทุนไป มูลค่าของหน่วยลงทุนในแต่ละกองทุนจะมีมูลค่าไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการบริหารของแต่ละกองทุน และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อสินทรัพย์ใน การลงทุนกองทุนกรุงไทยในกองทุนรวม นั้น ๆ
ประเภทต่างๆ ของกองทุนรวม
กองทุนรวมมีหลายประเภท เราจะแบ่งประเภทของกองทุนตามนโยบายของการลงทุน ได้แก่
-
กองทุนรวมตลาดเงิน เน้นการลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ถือเป็นกองทุนความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนน้อย เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับเป็นที่พักเงินมากกว่าการคาดหวังเอาผลตอบแทน
-
กองทุนรวมตราสารหนี้ เน้นการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน พันธบัตรรัฐบาลกรุงไทย หุ้นกู้ของภาคเอกชน เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อย
-
กองทุนรวมผสม เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ระดับปานกลางไปจนระดับค่อนข้างสูง การรับผลตอบแทนขึ้นอยู่กับสัดส่วนของสินทรัพย์ที่ลงทุน
-
กองทุนรวมตราสารทุน หรือกองทุนรวมหุ้น เน้นการลงทุนในหุ้น เป็นกองทุนที่มีความผันผวนสูง สามารถลงทุนได้ในระยะยาวและยอมรับการขาดทุนในช่วงระยะสั้น ๆ ได้ เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงมากได้
-
กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หุ้น DR กรุงไทย เน้นการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยง นิยมลงทุนตามดัชนีสำคัญ ๆ ของโลก ที่คัดเฉพาะหุ้นตัวที่เด่น ๆ ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงถึงสูงมาก เพราะมีปัจจัยเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
-
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF เป็นการออมเงินในระยะยาวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในยามเกษียณ เงื่อนไขคือต้องถือครองเป็นระยะ 5 ปี ต่อเนื่อง และไถ่ถอนได้เมื่อมีอายุครบ 55 ปี สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
-
กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF เป็น การลงทุนในกองทุนรวม ระยะยาวคือต้องถือครองเป็นระยะเวลา 10 ปี จึงจะสามารถไถ่ถอนได้ มีนโยบายของการลงทุนที่หลากหลาย เช่น การลงทุนในหุ้น ในตลาดเงิน ตราสารหนี้ และทรัพย์สินทางเลือก
-
กองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นกลุ่มทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากกองทุนที่กล่าวมาตามข้อข้างต้น เช่น อสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน สินค้าโภคภัณฑ์ อย่างทองคำ และน้ำมันดิบ เป็นต้น เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก ผู้ลงทุนควรศึกษาและมีความรู้ในสินทรัพย์นั้น ๆ ให้ดีก่อนการลงทุน
แล้วถ้าเราอยากลงทุน ต้องรู้อะไรบ้าง
-
เรามีเป้าหมายในการลงทุนครั้งนี้เพื่ออะไร
-
มีระยะเวลาในการลงทุนเท่าไร
-
ต้องการผลตอบแทนอยู่ที่กี่เปอร์เซ็นต์
3 คำถามนี้จะช่วยให้เรามีขอบเขตของการลงทุนที่ชัดเจนมากขึ้นว่าเราจะลงทุนในกองทุนไหน เพราะแต่ละกองทุนมีความชัดเจนในนโยบายของการลงทุนอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้เราสามารถเลือกลงทุนในกองทุนที่เหมาะกับตัวเองได้ดีที่สุด และอย่าลืมศึกษาการลงทุนให้เยอะและตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่มีใครดูแลเงินของเราได้ดีเท่ากับตัวเราเอง